
ประวัติองค์กรของเรา
ปี พ.ศ.2460 ด้วยความต้องการรับผิดชอบต่อปัญหาสังคมที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมภิวัฒน์อย่างรวดเร็ว จึงมีนักธุรกิจชาวชิคาโก้ที่มีชื่อว่า เมลวินซ์ โจนส์ ได้เชิญชวนนักธุรกิจอื่นๆในสหรัญอเมริกามาพบปะและสร้างสมาคมสโมสรไลออนส์
ปี พ.ศ.2463 ผ่านมาสามปีจึงเกิดสโมสรไลออนส์สากลขึ้นที่เมืองวินเซอร์ ประเทศแคนาดา ซึ่งเวลานั้นได้มีไลออนส์เกิดขึ้นกว่า 23 รัฐ ของสหรัฐอเมริกา ด้วยจำนวนสมาชิกรวม 6,400 คน
ปี พ.ศ.2468 คุณเฮเรน เคลเลอร์ ปราศรัย ณ การประชุมใหญ่ไลออนส์สากล ในเมือง ซีดาร์พ้อยท์ รัฐโอไฮโอ้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นการท้าทายชาวไลออนส์ว่าเราจะเป็นอัศวินของคนตาบอด โดยรณรงค์ต่อต้านความมืดมนทางสายตา นี่คือจุดกำเนิดแห่งภารกิจเกี่ยวกับสายตา ตลอด 100 ปี ที่ได้ช่วยเหลือมากว่า 100 ล้านคนตลอดมา
ปี พ.ศ.2488 ไลออนส์และผู้แทนจาก 46 ชาติ ได้ประชุมเพื่อตั้งส่วนของ NGO ของ UN ภายใต้ค้ำมั่นว่าจะสร้างความสงบสุขแห่งโลกอย่างมั่นคงและตลอดไป และปัจจุบันนี้สโมสรไลออนส์ก็ยังคงทำงานร่วมกับ UN ตลอดมา
ปี พ.ศ.2500 เกิดสโมสรลีโอขึ้นด้วยความต้องการขยายเยาวชนของในการการพัฒนาบุคคลผ่านอาสาสมัครและปัจจุบันเรามีสมาชิกลีโอกว่า 175,000 คน ใน 7,000 สโมสรฯ จากกว่า 140 ประเทศทั่วโลก
ปี พ.ศ. 2511 มีการก่อตั้งมูลนิธิไลออนส์สากลเพื่อต้องการบรรลุพันธกิจในการสนับสนุนความพยายามของสโมสรไลออนส์และพันธมิตรในการบริการชุมชนและทั่วโลก สร้างความหวังและส่งผลต่อโครงการและความช่วยเหลือด้านการบริการต่อมวลมนุษยชาติ มากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐแล้ว
ปี พ.ศ.2533 สโมสรไลออนส์ได้ออกโครงการช่วยเหลือด้านการคืนความมองเห็นแก่ประชาชนและป้องกันอาการตาบอดในระดับสากล ซึ่งต้องหาเงินกว่า 346 ล้านเหรียญสหรัฐในการสร้างโครงการ Sight First ระดับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2548
ปี พ.ศ.2560 ครบรอบ100 ปีแห่งการให้บริการชุมชนและได้มีการเฉลิมฉลองระดับสากลในงานประชุมใหญ่ไลออนส์สากลครบ 100 ปี ที่เมืองชิคาโก้ รัฐอิลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเมืองที่ถือกำเนิดไลออนส์ด้วย
ประมาณกลางปี พ.ศ.2500 ไลออน เอ็ช. ปันโคล ซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมสโมสรไลออนส์สากล ประจำภาคเอเซียตะวันตก
และมีสำนักงานประจำอยู่ที่นครบอมเบย์ ประเทศอินเดีย ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมาหาทาง
ดำเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นในกรุงเทพมหานครให้ได้ เขามุ่งตรงไปสำนักงานยูซิส ของสถานเอกอัครราชฑูต
สหรัฐอเมริการและได้มีโอกาสพบปะคนไทยคนแรก คือ น.พ.ปันต์ เลาหะพันธ์ ซึ่งทำงานอยู่ที่นั่น ได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับ
เรื่องของสโมสรไลออนส์สากลต่อจากนั้น น.พ. ปันต์ ได้พา ไลออน ปันโคล ไปพบ ม.ล.จิตรสาร ชุมสาย ซึ่งเป็นเพื่อนกัน และทำงานอยู่ที่สายการบินแอร์อินเดียในเวลานั้น ทั้งสามได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องไลออนส์กันอย่างกว้างขวาง และได้แนะนำให้ ไลออน ปันโคล ได้พบปรึกษากับ ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล , ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์, คุณตุ๊ วัชราธร , คุณวิชา เศรษฐบุตร และหากท่านเห็นด้วยในความคิดเห็นนี้ ก็ขอให้ท่านแนะนำคนอื่นให้อีก ไลออน ปันโคล เป็นผู้ที่มีความมานะและความตั้งใจเด็ดเดี่ยวจริงๆ ได้ไปพบท่านเหล่านั้นแต่ละคนด้วย ตนเองทั้งสิ้น ปีนั้นผ่านไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะแต่ละท่านยังไม่ให้ความสนใจในเรื่องนี้กันเท่าใด ไลออน ปันโคล ไม่ละความพยายามได้เดินทางเข้ามาเมืองไทยอีกหลายครั้ง ในปีต่อมาได้เข้าเฝ้า และพบบุคคลผู้กล่าวพระนามและนามดังกล่าวบ่อยครั้ง จนสามารถโน้มน้าวให้เกิดศรัทธาในอุดมการณ์ของไลออนส์สากล ในที่สุดสามารถรวบรวมบุคคลได้ 9 ท่าน คือ ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์, คุณอนันต์ จินตกานนท์, คุณสุรเทิน บุนนาค, คุณตุ๊ วัชราธร, คุณฉุน ประภาวิวัฒน์, คุณทวี เนียรกุล, นพ.ปันด์ เลาหะพันธ์ และม.ล.จิตรสาร ชุมสาย ได้นัดหมายให้พบปะกันที่วังของ ม.จ.อาชวดิศ และได้ปรึกษาหารือกันอย่างจริงจัง ในที่สุดก็ได้ตกลงยอมรับที่จะร่วมมือก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้น ในระยะแรกของการเตรียมการ ม.จ.อาชวดิศ ดิศกุล ได้ทรงพระกรุณาอนุญาตให้บุคคลกลุ่มนี้ไปประชุมที่ตำหนักของท่านที่ถนนเพชรบุรี ทุกเย็นวันอาทิตย์ให้ช่วยกันแปลธรรมนูญและข้อบังคับของไลออนส์สากลออกเป็นภาษาไทย เพื่อเป็นหลักให้สโมสรไลออนส์อื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตยึดถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป เมื่อได้ตรวจทบทวนธรรมนูญและข้อบังคับภาคภาษาไทยจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็ตกลงใจกันที่จะดำเนินการก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้นเป็นแห่งแรกในเมืองไทยและช่วยกันไปชักชวนผู้ที่สนใจและใฝ่ใจในทางประกอบกิจกรรมเพื่อการกุศลให้ได้อย่างน้อย 30 ท่านมาร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งสโมสรไลออนส์ขึ้น
สำหรับประเทศไทยได้จัดตั้งสโมสรไลออนส์เป็นสโมสรแรกเมือ พ.ศ. 2502 สโมสรแรกตั้งคือ สโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสโมสรไลออนส์สากลได้จดทะเบียนเป็นองค์การสากลโดยชอบด้วยกฏหมาย ณ สหรัฐอเมริกา และได้รับการรับรองจากประเทศที่มีสโมสรไลออนส์ตั้งอยู่ สโมสรไลออนส์ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งตั้งขึ้นตามธรรมนูญของสมาคมสโมสรไลออนส์สากลจึงมีฐานะเป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรไลออนส์สากล และ สำหรับสมาชิกของแต่ละสโมสรไลออนส์ก็มีฐานะเป็นสมาชิกของสมาชิกของสมาคมไลออนส์สากลทุกคน
หลังจากมีสมาชิก 30 ท่านแล้ว ได้มีการประชุมกันอีกหลายครั้งที่ปาล์มเรสตัวรองต์ หลังโรงแรมเอราวัณ โดยมี ไลออน ปันโคล มาร่วมประชุมด้วยเกือบทุกครั้ง ในที่สุดสามารถรวบรวมสมาชิกก่อตั้งได้ถึง 30 ท่านจริง ๆ ได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้ชื่อสโมสรว่า "สโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ" ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Lions Club of Bangkok โดยมี ดร.บุญรอด บิณฑสัณฑ์ เป็นนายกคนแรก ที่ประชุมยังได้มีมติให้ใช้ภาษาในการประชุมเป็นภาษาอังกฤษอีกด้วย สโมสรไลออนส์กรุงเทพฯ ได้ทำการจดทะเบียนต่อไลออนส์สากลขึ้นเป็นสโมสรไลออนส์แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2502 และได้จัดให้มีงานฉลองบัตรชาเตอร์ขึ้น ในวันที่ 24 ตุลาคม 2502
ต่อมาสโมสรไลออนส์แห่งกรุงเทพฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2506 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นเกียรติอย่างสูงแก่สมาสรและแก่สมาชิกทุกคนทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.2512 สโมสรไลออนส์ในประเทศไทยได้จัดให้มีงานฉลองครบรอบ 10 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของคณะกรรมการจัดงาน ฯ ขณะนั้นปรากฎว่ามีสโมสรไลออนส์อยู่เพียง 23 สโมสร ในระยะ 10 ปีต่อมา องค์กรไลออนส์ในประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะประชาชนทั่วไปได้รู้จักและยอมรับในผลงานของสโมสรไลออนส์ ปรากฏว่าในปี พ.ศ.2522 มีสโมสรไลออนส์เพิ่มขึ้นเป็น 87 สโมสร และอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ถึง 57 จังหวัด มีสมาชิกไลออนส์ทั้งสิ้นประมาณกว่า 5,000 คน
สมาคมสโมสรไลออนส์สากล ได้จดทะเบียนเป็นองค์การสากลโดยชอบด้วยกฎหมาย ณ สหรัฐอเมริกา ได้รับการรับรองจากประเทศต่างๆ ที่สโมสรไลออนส์ตั้งอยู่ ซึ่งตั้งขึ้นตามธรรมนูญของสมาคมสโมสรไลออนส์สากล จึงมีฐานะเป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรไลออนส์สากล และ สำหรับสมาชิกของแต่ละสโมสรไลออนส์ ก็มีฐานะเป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรไลออนส์สากลทุกคน

กำเนิดไลออนส์ไทย
จรรยาบรรณของสมาชิก
1. ข้าฯ จะแสดงให้ประจักษ์ถึงความศรัทธาในคุณค่าแห่งอาชีพของตน โดยจะประกอบสัมมาอาชีวะด้วยความอุตสาหะวิริยะจนถึงที่สุด เพื่อเชิดชูคุณภาพแห่งบริการของข้าฯ
2. ข้าฯ จะมุ่งให้บรรลุผลสำเร็จในกิจการงาน และเรียกร้องค่าตอบแทนหรือผลกำไรอันพึงมีพึงได้อย่างยุติธรรม ข้าฯ จะไม่ยอมให้ความศรัทธาในตนเองต้องเสื่อมสิ้นไปเพราะการแลกเปลี่ยนเอาผลกำไรด้วยการเอารัดเอาเปรียบ หรือด้วยการกระทำอันน่าสงสัย
3. ข้าฯ จะยึดมั่นอยู่เสมอว่าการเสริมสร้างธุรกิจของข้าฯ ไม่จำเป็นต้องทำลายผู้อื่น ข้าฯ จะซื้อสัตย์ต่อผู้ได้รับบริการจากข้าฯ และต่อตนเอง
4. ข้าฯ จะขจัดความสงสัยทั้งมวลให้สิ้นไปโดยพลันที่เกิดความระแวงสงสัยในหน้าที่การงานเกี่ยวกับสิทธิและธรรมจรรยาของข้าฯ ต่อมิตรทั้งปวง
5. ข้าฯ จะยึดถือว่ามิตรภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบริการหรือค่าตอบแทนและ ข้าฯ จะยอมรับบริการก็น้ำใจแห่งมิตรภาพนั้น
6. ข้าฯ จะสังวรณ์ถึงหน้าที่ที่ข้าฯ มีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาคมในฐานะพลเมืองคนหนึ่งด้วยความภักดีโดยไม่เปลี่ยนแปร ข้าฯ จะอุทิศทั้งกำลังกาย กำลังใจและกำลังทรัพย์เพื่อหน้าที่ดังกล่าว
7. ข้าฯ จะให้ความช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากและผู้อ่อนแอและผู้อนุเคราะห์ต่อผู้ยากจน
8. ข้าฯ จะวิจารณ์การกระทำของผู้อื่นด้วยความเที่ยงธรรมจะส่งเสริมและจะไม่ทำลาย
พันธะของสมาชิกที่มีต่อสโมสรฯ
นอกเหนือไปจากจรรยาบรรณที่สมาชิกไลออนส์ ได้กล่าวคำปฎิญาณไว้แล้วยังมีข้อปฏิบัติ หรือพันธะสำหรับสมาชิก ไลออนส์จะพึงมีต่อสโมสรของตนดังต่อไปนี้คือ
1. ให้เวลาและความคิดเห็นอย่างดีที่สุดแก่สโมสรฯ
2. เข้าร่วมประชุมในการประชุมสโมสรฯ ทุกครั้ง นอกจากจะไม่อยู่หรือเจ็บป่วงยซึ่งควรจะแจ้งให้เลขาธิการทราบก่อนทุกครั้งที่มีความจำเป็นจะต้องขาดจากการประชุม
3. ถือว่าวันประชุมของสโมสรไลออนส์นั้นสำคัญกว่าการนัดหมายอื่นๆ
4. พร้อมเสมอที่จะยอมรับตำแหน่งการทำงานในหน้าที่หนึ่งหน้าที่ใด ซึ่งทางสโมสรฯ จะมอบหมายให้
5. ควรศึกษาถึงธรรมนูญ กฎหมายข้อบังคับ ภาคผนวกของสโมสรตน ของภาคและของไลออนส์สากล
6. ให้ภรรยา ครอบครัว และมิตรสหายของตน ได้ทราบถึงเรื่องราวและประโยชน์ที่จะได้จากการเป็นสมาชิกไลออนส์
7. หากยังไม่มีโอกาสที่จะทำหน้าที่บริหารของสโมสรฯ ก็ควรสนับสนุนเจ้าหน้าที่บริหารของสโมสรฯ ด้วยดี
8. ควรรีบชำระค่าบำรุง หรือเงินอุดหนุนอื่นๆ ให้แก่สโมสรฯ ตามกำหนดโดยมิต้องเตือนหรือทวงถาม
ทั้ง 8 ข้อ ที่กล่าวมาแล้วนี้ หมายถึงพันธะที่สมาชิกไลออนส์พึงปฏิบัติต่อสโมสรไลออนส์ของตน เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณและกิจการของไลออนส์ได้ขยายกว้างขวางออกไป
วัตถุประสงค์องค์กร
-
เพื่อจัดองค์กรและกำกับดูแลการบริหารของสโมสรให้เป็นที่รู้จักในฐานะสโมสรไลออนส์
-
เพื่อประสานงานกิจกรรมและสร้างมาตรฐานการบริหารของสโมสรไลออนส์
-
เพื่อส่งเสริมความนึกคิด วิจารณญานอันดีระหว่างมวลประชาชาติในโลกด้วยการศึกษาถึงปัญหาสัมพันธภาพระหว่างชาติ
-
เพื่อส่งเสริมทฤษฎีและการปฏิบัติในหลักการให้เกิดความเป็นพลเมืองดีและการปกครองที่ดี
-
เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสนใจ และการช่วยเหลืออย่างจริงจังต่อสาธารณกิจ สังคมและสวัสดิภาพทางศีลธรรมในท้องถิ่นนั้น ๆ
-
เพื่อสร้างสามัคคีธรรมในหมู่สมาชิกของสโมสร ให้เกิดไมตรีจิตมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
-
เพื่อส่งเสริมให้มีการประชุมศึกษา และการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องฝักใฝ่กับการเมือง การศาสนา หรือลัทธินิยมใด ๆ
-
เพื่อกระตุ้นเตือนและส่งเสริมให้สมาชิกเกิดสมรรถภาพ และรักษามาตรฐานจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและอาชีพ ทั้งนี้ โดยสโมสรไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำให้เกิดผลประโยชน์ทางการเงินโดยตรงแก่สมาชิกของตน พันธะที่สมาชิกมีต่อสโมสรไลออนส์